---> เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียง
---> เห็นภาพทันทีขณะตรวจ
---> ไม่ใช้รังสี
---> ไม่เจ็บ ไม่ใช้สารทึบรังสี
อัลตราซาวด์ ( US)
--------> อวัยวะในช่องท้องทั้งหมด ตับ ถุงน้ำดี ตับอ่อน ม้าม ไต มดลูก รังไข่
ต่อมลูกหมาก ไส้ติ่ง กระเพาะปัสสาวะ
-----------> เต้านม เนื้องอกที่เต้านม ถุงน้ำที่เต้านม
----------->ต่อมไทรอยด์ / ต่อมน้ำเหลืองที่คอ
---------->หลอดเลือด
---------->ก้อนหรือรอยโรคตามตัว แขนขา
ปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง สามารถตรวจโดยอัลตราซาวด์หลอดเลือดแดงที่คอ
เพราะหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอมีหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ซึ่งหากตรวจพบการตีบของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่บริเวณคอ สามารถรักษา ก่อนการเกิดภาวะสมองขาดเลือด
การตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid Duplex Ultrasound)
การตรวจดูผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
การตรวจหาคราบหินปูน (Calcified Plaque) ที่อยู่ตามบริเวณหลอดเลือดที่คอ เพื่อดูภาวะตีบแคบของหลอดเลือด
วัดความหนาของผนังหลอดเลือด CCA (Intima Media Thickness)
วัดความเร็ว และทิศทางการไหลเวียนของโลหิตในหลอดเลือดออกมาเป็นกราฟได้อย่างละเอียด
ทำการตรวจเปรียบเทียบข้อมูลทั้งซ้าย และขวาของ Carotid และ Vertebral Arteries หากผนังหลอดเลือดคอมีการหนาตัวขึ้น หรือมีคราบหินปูนเกาะจนหลอดเลือดคอตีบแคบ เลือดจะไปเลี้ยงสมองไม่พอ ส่งผลให้เกิดอัมพาตได้
ในการตรวจวิธีนี้จะใช้เครื่องมือ Transducer ที่เป็นตัวรับ-ส่งคลื่นเสียงบริเวณหลอดเลือดตรงคอของผู้ป่วย ซึ่งจะได้ข้อมูลในทันที มีความปลอดภัย และไม่เจ็บ
ผู้ที่ควรทำการตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ
ผู้ป่วยป่วยที่มีภาวะผิดปกติที่หลอดเลือดแดง
ผู้ที่เคยมีอาการสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว (TIA)
ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดใหญ่เออร์ตาโป่งพอง (Aortic Aneurysm)
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
ผู้ที่สูบบุหรี่
ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ
ตรวจคัดกรองด้วยการทำอัลตราซาวด์หลอดเลือดที่คอทั้งสองข้าง (Carotid Duplex Ultrasound) 2900 บาท (ตรวจเส้นเลือดที่คอทั้งสองข้าง)
สะดวก รวดเร็ว ราคาประหยัด
เพราะการตรวจร่างกายอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัย การวินิจฉัยโรคที่แม่นยำรวดเร็ว ทำให้ผลลัพธ์การรักษาดี
คลินิกเปิดให้บริการทุกวัน จันทร์- อาทิตย์
คลินิกมาตรฐาน ราคามิตรภาพ ที่คุณไว้วางใจ
คลินิกเอกซเรย์และอัตราซาวด์ตรัง
0918471392 ติดต่อสอบถามนัดหมาย
Line : https://lin.ee/WDV1PZV คลินิกหมอวรฉัตร (บัญชีทางการ)
ที่อยู่ : 12/6 ถนนเจิมปัญญา ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 92000
(ตรงข้ามที่ทำการไปรณีย์ตรังทางไปสิริบรรณ)
Google map
https://maps.app.goo.gl/bCucmw2LFsYpSidQ7
เป็นที่ทราบกันดีว่า การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำเป็นประจำทุกปี และนอกจากการตรวจสุขภาพโดยทั่วไปแล้ว การตรวจสุขภาพภายในช่องท้องก็ไม่ควรมองข้าม เพราะภายในช่องท้องนั้นมีอวัยวะสำคัญมากมาย วันนี้เราจึงอยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับการคัดกรองโรคด้วยเครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า “อัลตร้าซาวด์” ทั้งบริเวณช่องท้องส่วนบนและส่วนล่างว่าแต่ละแบบนั้นมีประโยชน์อย่างไร และสามารถช่วยสแกนโรคอะไรได้บ้าง?
ตรวจอัลตร้าชาวด์ช่วยเช็กความผิดปกติ
การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound หรือ Ultrasound Scanning) เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสะท้อนให้เกิดภาพ ซึ่งการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องจะทำให้เห็นภาพของอวัยวะภายในในบริเวณที่ตรวจ ทำให้แพทย์มีข้อมูลภาพที่ชัดเจน สามารถนำมาประกอบการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น
อัลตร้าชาวด์ช่องท้องปลอดภัยและไม่เจ็บ
การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด เพราะเป็นเพียงการใช้หัวตรวจเคลื่อนไปบนผิวหน้าท้องภายนอก จึงไม่จำเป็นต้องมีการใช้ยาชาหรือฉีดยา อีกทั้งคลื่นเสียงที่ใช้ก็มีความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดอันตราย โดยการตรวจสุขภาพส่วนใหญ่จะมีการอัลตร้าซาวด์อยู่ 2 ส่วน คือ
อัลตร้าชาวด์ช่องท้องส่วนบน
การตรวจอวัยวะภายในช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) เป็นการตรวจดูอวัยวะของช่องท้องส่วนบนเหนือระดับสะดือขึ้นไป ได้แก่ ตับ ตับอ่อน ม้าม ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ไต และช่องท้องทั่วไป ตลอดจนเส้นเลือดต่างๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น มีก้อนที่ผิดปกติ นิ่วในไต หรือนิ่วที่ถุงน้ำดี เป็นต้น
เตรียมตัวอย่างไร...ถ้าต้องตรวจช่องท้องส่วนบน
ควรงดอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันทุกชนิดประมาณ 4-6 ชม.ก่อนตรวจ (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้) เพื่อให้เวลาถุงนํ้าดีเก็บกักนํ้าดี และเพื่อลดปริมาณลมในกระเพาะและลำไส้ ซึ่งจะช่วยให้เห็นอวัยวะต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง
การตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen) เป็นการตรวจดูอวัยวะของช่องท้องส่วนล่างที่อยู่ต่ำกว่าระดับสะดือลงไป ได้แก่ มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ ไส้ติ่ง และอื่นๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ถุงน้ำรังไข่ ก้อนเนื้อในมดลูก ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น
เตรียมตัวอย่างไร...ถ้าต้องตรวจช่องท้องส่วนล่าง
การตรวจช่องท้องส่วนล่างเป็นการตรวจที่จำเป็นต้องให้มีนํ้าปัสสาวะมากๆ ในกระเพาะปัสสาวะ เพราะนํ้าในกระเพาะปัสสาวะจะช่วยดันลำไส้ออกจากช่องเชิงกราน ทำให้เห็นมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก และพยาธิสภาพอื่นๆ ได้ดีขึ้น ก่อนเข้ารับการตรวจคนไข้ควรดื่มน้ำรอไว้ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายกลั่นปัสสาวะเพิ่ม เพราะจะทำให้การตรวจง่ายขึ้น เห็นผลดีขึ้น
อัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ที่มากกว่า 20,000 Hz หลักการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือ Ultrasounography คือ การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกไป จากหัวตรวจ (Transdneer) คลื่นเสียงจะกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการผ่านและสะท้อนกลับไม่เท่ากัน หัวตรวจจะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับระดับต่างๆ ซึ่งบ่งถึงความหนาแน่น และระดับความลึกของเนื้อเยื่อนั้นนำสัญญาณที่ได้รับมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพขึ้นมา เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค
วัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องอัลตราซาวด์
1. การตรวจครรภ์ การอัลตราซาวด์มีประโยชน์ต่อการตรวจครรภ์หลายอย่าง ในระยะแรกอาจใช้เพื่อคำนวณวันคลอด รวมถึงการตรวจดูการตั้งครรภ์นอกมดลูก ช่วยตรวจปัญหาขณะตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ความพิการแต่กำเนิดของทารก ความผิดปกติของรก ทารกไม่กลับหัว เป็นต้น นอกจากนี้ พ่อแม่หลายคนที่ต้องการรู้ว่าเพศของลูกเป็นหญิงหรือชาย การตรวจอัลตราซาวด์สามารถช่วยบอกได้ ส่วนในภาวะคลอดก่อนกำหนด แพทย์ยังอาจใช้เครื่องมือนี้ช่วยประเมินน้ำหนักตัวของทารกได้ด้วย
2. การตรวจวินิจฉัยโรค การวินิจฉัยภาวะผิดปกติที่กระทบต่ออวัยวะและเนื้อเยื่ออ่อนภายในร่างกายจำนวนมากสามารถทำได้ด้วยการอัลตราซาวด์ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ หลอดเหลือด ตับ ถุงน้ำดี ม้าม ตับอ่อน ไต กระเพาะปัสสาวะ มดลูก รังไข่ ดวงตา ต่อมไทรอยด์ หรือลูกอัณฑะ แต่ก็มีข้อจำกัดต่อการวินิฉัยบริเวณกระดูกที่มีความหนาแน่นหรือส่วนของร่างกายที่อาจประกอบด้วยอากาศหรือแก๊ส ซึ่งอาจทำได้ไม่ดีนัก เช่น สมอง กระดูกสันหลัง ลำไส้
3. การใช้ในกระบวนการทางการแพทย์ กระบวนการต่าง ๆ เช่น การตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจ อาจต้องใช้เครื่องอัลตราซาวด์เข้าช่วย เนื่องจากในกระบวนการนี้เป็นการตัดเนื้อเยื่อจากพื้นที่ที่ต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ การอัลตราซาวด์จะช่วยให้แพทย์เห็นภาพอวัยวะบริเวณนั้น ๆ และดำเนินการได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
ช่วยในการวินิจฉัยและวิเคราะห์ความเป็นปกติของอวัยวะสำคัญภายในช่องอก ได้แก่ ปอด หัวใจ ช่องทางหายใจ กระดูกซี่โครง เส้นเลือดใหญ่ และอวัยวะอื่นใกล้เคียง
ช่วยวิเคราะห์ความผิดปกติจากอาการป่วย เช่น การไอเรื้อรัง การไอออกมาเป็นเลือด อาการหายใจลำบากหรือติดขัด การปวดภายในช่องอก หรือการบาดเจ็บภายในช่องอก เป็นต้น
ช่วยให้ผู้ป่วยรู้ตัวเกี่ยวกับโรคในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะได้หาวิธีรักษาตั้งแต่แรก เช่น วัณโรคปอด ถุงลมโป่งพอง อาการน้ำท่วมปอด อาการปอดบวม อาการปอดแฟบ ภาวะปอดมีฝุ่นจับมาก เนื้องอกในปอด โรคมะเร็งปอดระยะเริ่มแรก และอาการผิดปกติของหลอดเลือด รวมถึงโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น เพื่อตรวจขนาดหรือรูปร่างที่ผิดปกติของหัวใจ ตรวจตำแหน่งหรือรูปร่างที่ผิดปกติของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง และโรคเกี่ยวกับกระดูก ได้แก่ การแตกร้าวของกระดูกซี่โครงหรือกระดูกสันหลัง ความผิดปกติของกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง หรือกระดูกไหปลาร้า โรคกระดูกพรุน
เป็นการตรวจเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัด
เมื่อตรวจเจอก้อนตามร่างกายที่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง
การตรวจเลือด เอกซเรย์ อัลตราซาวด์ หรือการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัยโรค
จำเป็นต้องนำชิ้นเนื้อ หรือ ของเหลวเพียงบางส่วนจากอวัยวะภายในร่างกายของผู้ป่วยมาตรวจทางพยาธิวิทยาว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ เป็นเซลล์ชนิดใด เพื่อประเมินโรคและวางแผนการรักษาที่ถูกต้องแม่นยำ
ปัจจุบันเราไม่ต้องทำการผ่าตัดเพื่อนำเนื้อเยื่อภายในร่างกายออกมาอีกแล้ว ทำให้เราหลีกเลี่ยงการดมยาสลบ, การมีแผลผ่าตัด และการนอนในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายวันโดยการเจาะตัดชิ้นเนื้อผ่านผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็ก (Percutaneous Needle Biopsy) ซึ่งใช้อัลตราซาวด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในการนำทางเพื่อให้ได้ตำแหน่งชิ้นเนื้อที่ต้องการ
ติดต่อนัดหมายสอบถามเพิ่มเติมโทร091-8471392 (07.00-20.00น.)